ชื่อรองนายทะเบียนสหกรณ์
นายรุ่งโรจน์ สรวุฒิพิบูลย์ |
|
สหกรณ์จังหวัดนนทบุรี |
|
รองนายทะเบียนสหกรณ์ |
- ฮิต: 550
นายรุ่งโรจน์ สรวุฒิพิบูลย์ |
|
สหกรณ์จังหวัดนนทบุรี |
|
รองนายทะเบียนสหกรณ์ |
แนวทางการปฏิบัติงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดตามโครงการสร้างใหม่ หน้าที่และความรับผิดชอบ |
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรวบรวมแผนงาน คำขอตั้งงบประมาณ ติดตามเร่งรัดและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานและโครงการต่างๆ รวมทั้งรวบรวมสถิติข้อมูลงานด้านสหกรณ์ ปฏิบัติงานด้านการเงิน บัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ งานด้านบริหาร งานบุคคล งานติดต่อประสานงาน งานสารบรรณ และงานธุรการทั่วไป ตลอดจนดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีรายละเอียดของงานที่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ ก.ปฏิบัติงานธุรการ จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณทั่วไป เช่น การรับส่งหนังสือราชการ การควบคุมทะเบียนหนังสือเข้าออกสำนักงานสหกรณ์จังหวัด หนังสือเวียนหนังสือราชการลับ คำสั่ง ประกาศของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด กำหนดอายุหนังสือราชการ งานเก็บค้นหาเอกสารต่างๆ การควบคุมต่างๆ การควบคุมการส่งเอกสารของทางราชการทางไปรษณีย์ การร่าง-โต้ตอบหนังสือ การกลั่นกรองหนังสือราชการให้ถูกต้องตามระเบียบงานสารบรรณ การบันทึกนำเสนอหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา การรวบรวมคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานต่างๆ ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเกี่ยวข้องทั้งหมด จดบันทึกรายงานการประชุมข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ควบคุม ตรวจสอบการลงเวลามาปฏิบัติงานและรายงานผลตามงวดที่กรมกำหนดให้รายงาน จัดทำทะเบียนคุมวันลากิจ ลาป่วย และลาพักผ่อน การจัดผู้อยู่เวรยามประจำสำนักงาน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด ดำเนินการจัดกิจกรรม 5 ส.ของหน่วยงาน ดำเนินการตรวจสอบนำเสนอขอทำลายเอกสารราชการที่พันระยะการเก็บรักษาตามระเบียบพัสดุ ข.การปฏิบัติงานด้านบุคคล จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับ 1.ดูแลการจัดอัตรากำลังตามกรอบโครงสร้างใหม่ และการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน 2.จัดเก็บ / บันทึก ประวัติข้าราชการ (ก.พ.7) ตลอดจนลูกจ้างประจำทุกคน 3.จัดทำคำสั่งโยกย้ายข้าราชการภายในจังหวัด หรือปรับเปลี่ยนหน้าที่ในหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ตามความเหมาะสม 4.รวบรวมการจัดทำประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการ 5.ดำเนินการจัดทำประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการ 6.ดำเนินการสรรหา / คัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวของสำนักงาน 7.ดำเนินการตามกระบวนการทางวินัยแก่ข้าราชการ / ลูกจ้างประจำที่กระทำผิดเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษ 8.รายงานปรับคุณวุฒิและการฝึกอบรมข้าราชการทุกคน รายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อ สกุล การถึงแก่กรรมของข้าราชการและลูกจ้างทุกคนต่อกรมฯ ประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการขอรับบำเหน็จ บำนาญ ของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ ลาออกจากราชการ หรือถึงแก่กรรมในกรณีที่เป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญ ค.การปฏิบัติงานบัญชีและการเงิน จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. ตรวจสอบเอกสารการเบิกเงินราชการ เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชาอนุมัติ 2. จัดทำฎีกาเพื่อเบิกเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณจากคลังจังหวัด 3 จัดทำทะเบียนคุมเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณจากคลังจังหวัด 4. จัดทำบัญชีการเงินของสำนักงาน 5. รับผิดชอบการรับ-จ่ายเงินของหน่วยงาน 6. จัดเก็บเอกสารการเงิน สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารและสมุดเช็คไว้อย่างปลอดภัย 7. จัดทำรายละเอียดและใบนำส่งเงินแก่คลังจังหวัด 8. นำส่งเงินรายได้แผ่นดินแก่คลังจังหวัด 9. จัดทำรายงานการเงินและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ง. การปฎิบัติงานเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. ควบคุม จัดทำ ทะเบียนพัสดุ ครุภัณฑ์สำนักงานทุกประเภท 2. ดำเนินการจัดซื้อ-จัดจ้างตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติ 3. ควบคุมการเบิกจ่ายพัสดุสำนักงาน 4. ควบคุมยานพาหนะ การใช้รถยนตร์ราชการ ตลอดจนการซ่อมบำรุงรักษา 5. จัดทำทะเบียน/ควบคุมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 6. ตรวจสอบพัสดุครุภัณฑ์คงเหลือประจำปีและรายงานกรมฯ 7. จัดการตัดจำหน่ายครุภัณฑ์เสื่อมชำรุดตามระเบียบพัสดุ จ. การจัดทำแผนงานและงบประมาณ จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. รวบรวมข้อมูล ประสานงานเพื่อการจัดทำแผนงานและคำของบประมาณประจำปี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนแผนงานประจำปีของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด 2. จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฎิบัติงานและการจัดสรรงบประมาณ เช่น ทะเบียนครุภัณฑ์ยานพาหนะ ทะเบียนอุปกรณ์การตลาดและสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น 3. พิจารณาเสนอหลักเกณฑ์ในดารจัดสรรและบริหารงบประมาณ เพื่อให้การบริหารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล 4. วิเคราะห์/จัดสรร แผนปฏิบัติงาน และงบประมาณ เสนอสหกรณ์จังหวัดเพื่อพิจารณาจัดสรรให้หน่วยงานในสังกัด 5. กำกับ และแนะนำการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติงานประจำปี 6. ประสานแผนปฎิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 7. ปรับปรุงแผนงาน/รายงานขอเงินงบประมาณเพิ่มเติม 8. ประสานเเผนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฉ. การติดตามและประเมินผล จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับ 1. สร้างระบบติดตามผลของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดให้สอดคล้องกับระบบการติดตามและประเมิณผลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 2. ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการปฎิบัติงานตามแผนงานและโครงการต่าง ๆ 3. รวบรวมสถิติข้อมูลด้านสหกรณ์ 4. ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด 5. สรุปผลนำเสนอสหกรณ์จังหวัดเพื่อพัฒนาปรับปรุง แก้ไข พร้อมกำชับการปฎิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ 6. จัดทำรายงานผลการปฎิบัติงานความก้าวหน้าผลการปฎิบัติงานโครงการต่าง ๆ แก่กรมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช. ดำเนินงานด้านเผยแพร่และแฃประชาสัมพันธ์งาด้านส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ซ. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ต่างๆ ดังนี้ 1.ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสหกรณ์ เพื่อให้คำแนะนำแก่คณะผู้จัดตั้งเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็น่สหกรณ์ ศึกษา วิเคราะห์ คำขอจัดตั้งสหกรณ์ของผู้ที่ประสงค์ของจัดตั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ ศึกษา วิเคราะห์ ถึงความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสหกรณ์ และผลกระทงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ให้รวมถึงการควบสหกรณ์การแยก สหกรณ์ การจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ด้วย ทั้งนี้ให้รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่นเดียวกัน โดยข้อมูลต่างๆ ที่นำมาวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ค่าใช้จ่ายและข้อมูลด้านบุคคลอื่นๆ ของกลุ่มบุคคลอื่นๆ ของกลุ่มบุคคลที่ประสงค์จะขอจัดตั้งนั้น หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์จะดำเนินการรวบรวมให้ 2.ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ว่าเมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้วสามารถดำเนินการบริหารกลุ่มไปได้ด้วยดีเพียงใด เพราะกลุ่มที่ตั้งขั้นมานั้นจุร้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเสฃศรษฐกิจและสังคม ฉะนั้น จะต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ กำหนดแนวทางเพื่อให้กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามผลการดำเนินงานภายหลังการจัดตั้ง 3. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลของสหกรณ์ กลุ่มเกษตร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ที่จัดตั้งขึ้นมาว่ามีปัญหาในการดำเนินงานอย่างไร และหากพบปัญหาในการดำเนินงานอย่างไร และหากพบปัญหาจะต้องเข้าไปทำการช่วยเหลือหรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือ เช่น ในกรณีที่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร มีปัญหาในด้านการตลาดก็ต้องประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ให้เข้าไปทำการช่วยเหลือหรือถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารการจัดการก็ต้องประสานงานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการการสหกรณ์ให้เข้าไปช่วยเหลือ หรือประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 4. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลต่างๆ รวมทั้งประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการอันเกี่ยวเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการอื่นๆ 5. ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดตั้งและการส่งเสริมให้แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ จากการที่กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ได้ทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ต่างๆ แล้ว และให้หน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ไปดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์หรือกลุ่มตามขั้นตอนและวิธีการ ซึ่งในระหว่างดำเนินการจัดตั้งนั้น ถ้ามีปัญหาในการดำเนินงานเกิดขึ้น หรือเมื่อจัดตั้งแล้วและมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมการเกษตร จะต้องให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นกับหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ 6. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่สหกรณ์ พร้อมกับติดตามการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบกิจการและภาวะการเงินของสหกรณ์ รวบรวม ประเมินผล การรายงานของผู้ตรวจการสหกรณ์ วินิจฉัยสั่งการให้สหกรณ์แก้ไขข้อบกพร่องตามที่ผู้ตรวจการสหกรณ์หรือผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจพบภายในเวลาที่กำหนด ติดตาม ตรวจสอบ ความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อบกพร่องในสหกรณ์ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ข้าราชการในหน่วยส่งเสริมและพัฒนา สหกรณ์เพื่อการแก้ไขปัญหา และการรายงานในระดับจังหวัดกับกรมฯ ประสานกับกลุ่มในจังหวัดในแต่ละกรณี และสำนักจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ในส่วนกลาง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวให้รวมถึงกลุ่มเกษตรกรด้วย 7. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ในระดับเพิ่มรายได้เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง การคัดเลือกเพื่อรับการสนับสนุนจากภาครัฐ การพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้และเป็นที่พึงของมวลสมาชิกได้ 8. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 9. ในกรณีที่มีนิคมสหกรณ์อยู่ในจังหวัดให้ปฏิบัติการสำรวจทำแผนที่ในสนาม ได้แก่ การสำรวจสภาพภูมิประเทศเพื่อทำโครงการทางช่างชั้นต้นเกี่ยวกับการสำรวจวงรอบ – กันเขต วงรอบ – ระดับ รายแปลง แบ่งแปลงผังบริเวณ การสำรวจอุทกวิทยา เป็นต้น และแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินในนิคมสหกรณ์ 10.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนัสนุนการปฏัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมสหกรณ์และพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ โดยเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์นำไปปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับ 1.ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการผลิตในระดับธุรกิจให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกของกลุ่ม โดยในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินการใดๆ ของกลุ่มนั้น ถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้น จะต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นด้วย 2.ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์และรูปแบบการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เพราะสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ผลิตขึ้นมา นอกจากจะต้องมีตลาดมารองรับแล้ว ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือรูปแบบการบรรจุผลิตภัณฑ์หรือหีบห่อก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะถ้าผลิตภัณฑ์มีรูปแบบการบรรจุที่สวยงามย่อมเป็นที่ต้องการของตลาด จังเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้นจากปกติได้ทางหนึ่ง ฉะนั้น จึงต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ ผลิตสินค้าหรือผลผลิตให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาเรื่องการบรรจุหีบห่อให้ได้มาตรฐานและต่อเนื่อง 3.ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาดและส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นรวมทั้งหาลู่ทางการตลาดทั้งในประเทศปละต่างประเทศ โดยทำการรวบรวม วิเคราะห์ สำรวจ ข้อมูล ข่าวสารด้านการตลาดและธุรกิจของสหกรณ์ และกลุ่ม ดำเนินการสำรวจปริมาณการผลิตของสมาชิกและความต้องการของตลาดเพื่อให้ปริมาณการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและไม่ก่อให้เกิดสินค้าล้นตลาด นอกจากนั้นจะต้องส่งเสริมให้สหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ รู้จักการวางแผนในการผลิตให้พอดี ติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับด้านการตลาดและธุรกิจ เพื่อจะได้แจ้งให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและใช้ประกอบในการวางแผนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ และกลุ่มต่างๆ ตลอดจนประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ การกกระจายข่าวตามท้องถิ่นเพื่อให้ข้อมูลข่าวารได้รับรู้กันโดยทั่วไป สำหรับการส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์นั้นจะต้องส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจภายในสหกรณ์และระหว่างสหกรณ์ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายของสหกรณ์ให้ทราบโดยทั่วถึงกัน 4.ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแลรักษาและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตโดยเป็นการประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบในการดูแล รักษา ซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง 5.ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจสหกรณ์แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ เพราะจากการที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ได้กำหนดแนวทางต่างๆให้หน่วยส่งเสริมฯ นำไปปฏิบัติในการส่งเสริมแล้วในกรณีที่มีปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำแก่หน่วยส่งเสริมฯ เพื่อจะได้นำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ต่อไป 6.ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ โดยเป็นการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์นำไปปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับ 1.ศึกษา วิเคราะห์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงาน บุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรกลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่นมีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือสหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ ในการวางแผน จัดทำกลยุทธ์ จัดทำโครงการและแนะนำช่วยเหลือสหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ ในการวางแผน จัดทำกลยุทธ์ จัดทำโครงการและกิจกรรมการผลิตในระดับที่เป็นธุรกิจได้ ให้คำแนะนำงานของสหกรณ์หรือกลุ่มให้สามารถดำเนินธุรกิจตามแผนได้อย่างครบวงจรและมีศักยภาพ สำหรับการบริหารงานบุคคลจะต้องแนะนำให้สหกรณ์และกลุ่ม จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์และกลุ่ม ช่วยเหลือ แนะนำในการกำหนดตัวบุคคล กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจระบบงาน การบริหาร วิธีดำเนินการ รวมทั้งแนะนำให้มีการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดหาการลงทุน การบริหารเงินทุน และการประกอบธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการที่สหกรณ์ และกลุ่มเสนอว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุนรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่ากับการลงทุน 3.ศึกษา วิเคราะห์ถึงความต้องการสนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น รวมการติดตามและประเมินผล ในกรณีที่ได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของโครงการแล้วว่าสหกรณ์และกลุ่ม มีโครงการจุลงทุนทำธุรกิจแต่มีปัญหาในเรื่องเงินทุนและสินเชื่อ ควรแนะนำแหล่งเงินทุนให้แก่สหกรณ์และกลุ่มนั้นๆ 4.ดำเนินการติดตามประเมิลผลการให้สินเชื่อ และเงินทุนที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรกลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ได้รับจากกรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งชำระหนี้ เตือนหนี้ที่จะถึงกำหนดชำระ 5.ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการสหกรณ์และหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์หลังจากที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติให้กับหน่วยส่งเสริมไปแล้ว แต่มีปัญหาในการปฏิบัติงานเกิดขึ้น 6.ติดตาม ประเมิลผล รายงานผลและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติตามที่กฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบหรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงานเสนอนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อทราบหรือพิจารณา 2. ศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการตรวจการสหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพ 3. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแนวทางการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู 4. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ 5. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ในการเตรียมการหรือทำคำสั่งทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางปกครอง 6. งานกำหนด/งานแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 7. งานกำหนด/งานแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 8. งานข้อบกพร่องของสหกรณ์ 9. งานประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง 10. งานเลิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 11. งานกำกับ และติดตามการชำระบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 12. งานร้องเรียน/ร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์ 13. งานตอบข้อหารือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ 14. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ 15. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ 16. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย 17. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย |
ให้ข้าราชการในกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์สหกรณ์ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานในสำนักงานสหกรณ์อำเภอตามโครงสร้างเดิม โดยให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ 1.การเผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากร กลุ่มเกษตรและประชาชนทั่วไป 2.ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3.ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การขอจัดตั้ง สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร แก่บุคคลผู้สนใจ รวงถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ 4.ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และชุมนุมสหกรณ์ แก่คณะบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการควบสหกรณ์การแยกสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ แก่คณะบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการควบสหกรณ์การแยกสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ และให้การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำสหกรณ์ในการดำเนินงานภายหลังการจัดตั้ง เพื่อความเข้มแข็งและความยั่งยืนของสหกรณ์ 5.ส่งเสริม แนะนำ เร่งรัด การดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ ระเบียง ข้อกำหนดต่างๆ คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ นโยบาย มติที่ประชุมใหญ่ ของสหกรณ์ มติที่ประชุมชองคณะกรรมการดำเนินการเพื่อการป้องปรามและป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้คำแนะนำให้สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ส่งสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ สำเนารายงานการประชุมใหญ่ให้ตรงตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้การแนะนำ ดูแลการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ และคณะกรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ หรือมติที่ประชุมใหญ่และมติที่ประชุมคณะกรรมการ ดำเนินการสหกรณ์ ตลอดจนคำสั่ง คำแนะนำ และระเบียบของนายทะเบียนสหกรณ์เป็นต้น 6.ตรวจ แนะนำ วิธีการปฏิบัติงาน การบริหารงาน การเงินและการบัญชีแก่ สหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นไปตรมหลักวิชาการและมาตรฐานทางการเงินและบัญชี เพื่อเป็นการป้องปรามและป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การตรวจแนะนำให้สหกรณ์บันทึกรายการในบัญชีให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมถึงการลงรายการในเอกสารทางการเงินของสหกรณ์ กลุ่มเกสรกรให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามกฎหมาย การแนะนำให้กรรมการสหกรณ์ได้ตรวจนับเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 7.จัดให้มีการประชุมเสวนาสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อรับทราบปัญหาและดำเนินการในส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การสอบทานหนี้สิน การสอบทานหุ้น และเงินฝากของสมาชิก เป็นต้น 8.ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม การดำเนินการแก้ไขการทุจริตข้อบกพร้องของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตามที่ผู้ตรวจการสหกรณ์ และผู้ตรวจสอบบัญชีของกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์สั่งการ 9.ให้การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง ให้การแนะนำ ส่งเสริมเผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เพื่อการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานตามระบบสหกรณ์ 10.ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตีสหกรณ์ และกลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ที่จัดตั้งขึ้นมาให้มีการดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม โดยถ้ามีผลผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้น จะต้องส่งเริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เหล่านั้นด้วย 11.ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า และบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการของสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า 12.ส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ให้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่อมโยงเครือข่ายของสหกรณ์ให้ทราบโดยทั่วถึงกัน 13.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหารการจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น มีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือในการวางแผน การจัดทำกลยุทธ์ การจัดทำโครงการและกิจกรรมการผลิตในระดับที่เป็นธุรกิจได้อย่างครบวงจรและมีศักยภาพ 14.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจ ระบบงาน การบริหาร วิธีดำเนินการ รวมทั้งแนะนำให้มีการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆ เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 16.ติดตาม ประเมินผลการให้สินเชื่อแก่สหกรณ์ ปละเงินทุนที่สหกรณ์ได้รับจากกรงส่งเสริมสหกรณ์ เช่น เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พร้อมทั้งเร่งรัดการส่งชำระหนี้ การเตือนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ 17.ให้การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ ให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น มีส่วนร่วมในการพัฒนา วางแผนงาน โครงการสามารถดำเนินการและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง 18.ให้คำแนะนำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร เพื่อการวางแผน และการพัฒนางาน 19.ประสานงานให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแล รักษาซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง 20.ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงาน และโครงการต่างๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 21.ประสานงานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ กลุ่มพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ และกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์เพื่อรับมอบงาน ข้อมูล ข่าวสาร และองค์ความรู้ด้านวิชาการต่างๆ เพื่อนำข้อมูลและความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้การส่งเสริม แนะนำ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น และเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการทำงาน โดยมีภารกิจงานหลักๆที่ต้องประสานกับแต่ละกลุ่มงานดังนี้ 21.1ประสานกับกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ในภารกิจงานเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์ ให้กับกลุ่มบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบเอกสารประกอบการขอจัดตั้ง และการดำเนินการในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มจัดตั้งฯนำเนินคำขอจดทะเบียนสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ ภายหลังนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนแล้วจะต้องให้การส่งเสริม แนะนำ เป็นที่ปรึกษา และประสานงานเพื่อการจัดองค์การ การจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและชุมนุมสหกรณ์ ภายใต้กรอบของกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ การดำเนินการดังกล่าวนี้ให้รวมถึงการตรวจสอบขั้นต้นในการจดทะเบียนสหกรณ์ แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ การขอความเห็นชอบและกำหนดระเบียบเพื่อถือใช้ การควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์และการเลิกสหกรณ์ด้วย 21.2ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ ของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น รวมถึงการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์กับสหกรณ์ สหกรณ์กับภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้การส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือการดำเนินธุรกิจ ให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรกลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น รวมถึงการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาดของสหกรณ์กับสหกรณ์ สหกรณ์กับภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปปฏิบัติหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ให้การส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือการดำเนินธุรกิจ ให้กับสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์จะทำหน้าที่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของหน่วยฯโดยตลอด 21.3ประสานกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ เพื่อรับและส่งมอบงานและข้อมูล หรือองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การควบคุมภายใน โครงสร้างและการจัดระบบงาน การจัดหา การลงทุนและการบริหารเงินทุนของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปปฏิบัติหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ให้การส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือการบริหารจัดการองค์กร และการเงินของสหกรณ์ กลุ่มเกษตร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์จะคอยสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ และแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของหน่วยฯโดยตลอด 22.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรฯ บวรวิไชยชาญและจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) (กรมพระราชวังบรวฯ วิชัยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระราชอนุชาธิราชแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ทรงประสูติในพระบวรราชวัง เมื่อวันแรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด จุลศักราช 1238 ตรงกับวันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 มีพระนามว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ตันสกุล "รัชนี") ทรงมีเจ้าพี่ร่วมจอมมารดาเดียวกันพระองค์หนึ่ง พระนามว่าพระองค์เจ้าหญิงภัททาวดีศรีราชธิดา พระชันษาแก่กว่าท่าน 5 ปี แต่สิ้นพระชนม์เสียเมื่อพระชันษา 28 ปี เมื่อ พ.ศ. 2429 ได้เสด็จเข้าเป็นนักเรียนประจำ ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเสด็จกลับวังเฉพาะวันพระ ทรงเรียนอยู่เพียงปีเศษจกการันต์ คือ จบสูงสุดในประโยค 1 และในระหว่างนั้นทรงเรียนภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย ทรงเรียนจบประโยค 2 เมื่อ พ.ศ. 2434 ทรงสอบไล่ได้เป็นที่ 1 ได้รับพระราชทานหีบหนังสือเป็นรางวัล จากนั้นได้เรียนภาษาอังกฤษต่อไปจนจบหลักสูตรการเรียนของโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อทรงสำเร็จวิชาการโรงเรียนสวนกุหลาบแล้วพระชันษายังน้อยเกินกว่าที่จะรับราชการ จึงเสร็จเข้าเรียนภาษาอังกฤษต่อที่สำนักอื่นแห่งหนึ่ง จน พ.ศ. 2436 จึงได้เสด็จเข้ารับราชการในตำแหน่ง นายเวรกระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษา 16 ปี 3 เดือน ทรงเลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน พ.ศ. 2438 ทั้งได้ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทยและทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่งอีกหน้าที่หนึ่ง ขณะที่ทรงรับราชการอยู่ในกระทรวงธรรมการ 2 ปี เศษนั้น ทรงสนพระทัยที่จะแสวงหาความรู้ทางภาษาอังกฤษเพิ่มเติมอยู่มิได้ขาด โดยทรงกระทำพระองค์สนิทชิดชอบกับที่ปรึกษากระทรวง และข้าราชการอื่นๆ ที่เป็นชาวอังกฤษ ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ อาทิ การไปเล่นกอล์ฟหรือฮ๊อคกี้ตามท้องสนามหลวง เสด็จไปเล่นเทนนิสตามบ้านฝรั่งหรือตามคลับ เป็นสมาชิกในคลับเรือใบซึ่งตั้งอยู่ถึงแถบชายทะเลจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งความพยายามเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องเพิ่มพูนความรู้ทางภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ดังนั้น พระองค์จึงทรงคุ้นกับขนบธรรมเนียมและตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ด้วยเหตุนี้ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระองค์เจ้ารัชนี มรเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2439 ในที่สุดพระองค์ท่านก็กลายเป็นผู้ถูกอัธยาศัยอย่างมากกับที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ จนที่ปรึกษาถึงกับทูลปรารภต่อเสนาบดีว่า "ควรส่งคนหนุ่มอย่างพระองค์ท่านไปศึกษาที่ประเทศอังกฤศเสียพักหนึ่ง ก็จะได้คนดีที่สามารถใช้ราชการในวันข้างหน้า" ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2440 จึงทรงย้านมารับตำแหน่งเป็นล่ามที่กระทรวงพระคลังและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 7 เมษายนปีนั้น และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทรงเล่าเรียนต่อในประเทศอังกฤษ ผู้ดูแลนักเรียนหลวงจัดให้ท่านไปเรียนอยู่กับแฟมิลี่ คือครูของท่านซึ่งเป็นพระสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงเรียนอยู่กับแฟมิลี่ได้เพียง 6 เดือน ก็ทรงสอบคอเลชออฟพรีเซ็บเตอร์ ภาค 1 ได้ และด้วยความวิริยะอุตสาหะและตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ ทำให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ ระหว่างศึกษาทรงหาความรู้ใส่พระองค์ อย่างที่ทรงใช้คำว่า "บรรทุก" ทรงโปรดกีฬาจนเป็นพระนิสัย และทรงเล่นกีฬาอย่างเต็มที่ทำให้พระองค์ทรงกว้างขวางในสังคมมหาวิทยาลัยแต่ทรงศึกษาได้เพียง 3 เทอม ก็ถูกเรียกตัวกลับประเทศ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2442 เสด็จเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยกรมตรวจและกรมสารบัญชี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้ทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดกรมธนบัตร ซึ่งเป็นเวลาที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเริ่มที่จะจัดพิมพ์ธนบัตรออกใช้แทนเหรียญตรากระษาใณ์เป็นครั้งแรก พระองค์เจ้ารัชนีจึงได้รับมอบหมายให้จัดตั้งระเบียบราชการกรมใหม่นั้น ได้ทรงเป็นแม่กองปรึกษาในการคิดแบบลวดลายและสีของธนบัตรแต่ละชนิด ทรงมีส่วนในการตราพระราชบัญญัติเงินตรา วางกฎเสนาบดีในการควบคุมธนบัตร และทรงวางหลักการบัญชีด้วย ธนบัตรที่จัดทำขึ้นครั้งนั้นมีอัตราใบละ 1,000 บาท 100 บาท 20 บาท 5 บาท ส่วนอัตรา 1 บาทยังคงใช้เหรียญตรากระษาใณ์อย่างเดิม และได้นำธนบัตรออกจำหน่ายเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันเปิดกรมธนบัตรหลังจากนั้นได้ทรงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตรเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2446 และทรงย้ายไปเป็นเจ้ากรมกองที่ปรึกษาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2446 เสด็จอยู่ในตำแหน่งได้ 14 เดือน ก็ต้องทรงย้ายไปรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมกระษาปณ์สิทธิการ จนกระทั่ง1 เมษายน พ.ศ. 2451 ได้ทรงเลื่อนขั้นเป็นอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบัญชี ซึ่งเป็นกรมใหญ่และสำคัญกรมหนึ่งในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ภายหลังกรมตรวจแลกรมสารบัญชีเปลี่ยนชื่อเป็นกรมบัญชีกลาง) ทรงดำรงตำแหน่งจนสิ้นรัชกาลที่ 5 รวมเวลาที่พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงรับราชการในรัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 17 ปี จนมีพระชันษาได้ 33 ปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นองคมนตรี ได้ทรงรับพระราชทานสัญญาบัติองคมนตรีเป็นลำดับที่ 19 ในองคมนตรีทั้งสิ้นรวม 233 ท่าน พ.ศ. 2456 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามจาฤกในพระสุพรรณบัฎว่า พระราชวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงศักดินา 11,000 ไร่ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระราชวังบวร ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็นกรมบัญชาการชั้นมีอธิบดีเป็นหัวหน้า อยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีชื่อว่า "กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นอธิบดี พระองค์ได้ทรงริเริ่มจัดงานสำคัญขึ้นแผนกหนึ่ง ด้วยทรงคำนึงว่าชาวนาเป็นส่วนหนึ่งของการพาณิชย์ เพราะข้าวเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ แต่ขณะเดียวกันชาวนากลังมีหนี้สินมาก ทำนาได้ข้าวเท่าใดก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด แต่หนี้สินก็ยิ่งพอกพูน จากการหาแนวทางต่างๆ เพื่อทำการช่วยเหลือ ผลโดยสรุปเห็นว่าวิธีการที่จะช่วยเหลือชาวนาให้พ้นจากอุปสรรคดังกล่าวได้ ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีจัดตั้งสหกรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ได้ขยายงานกว้างขวางไปหลายแผนกและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ประกาศแต่งตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ให้อยู่ในความคบคุมของสภาเผยแพร่พาณิชย์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นอุปนายกแห่งสภานั้น จนกระทั้ง พ.ศ. 2464 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณเป็นรองเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ (ทรงมีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีสภาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468 อันเป็นการประชุมเสนาบดีครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ 6) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกแห่งราชบัณฑิตสภาเสด็จแปรพระสถานจากกรุงเทฯ ไปประทับแรมเป็นประจำอยู่ที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ผู้แทนเป็นอุปนายกแผนกวรรณคดีแห่งราชบัณฑิตยสภา จึงทรงเป็นสภานายกแทน ได้ทรงปฏิบัติราชการทุกแผนกในราชบัณฑิต ดำเนินรายตามระเบียบเดิม ซึ่งสภานายกพระองค์ก่อนทรงจัดไว้โดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. 2476 เมื่อคราวที่จัดระเบียบงานขึ้นใหม่ ได้เปลี่ยนนามราชบัณฑิตสภาเป็น "ราชบัณฑิตยสถาน" กรมหมื่นพิทยาลงกรณ จึงได้กราบถวายบังคมลาออกทรงรับพระราชทานบำนาญ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงนิพนธ์งานเขียนไว้มากมายทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ทรงใช้นามปากกาว่า "น.ม.ส." ซึ่งมาจากพระนามเดิมของพระองค์นั่นเอง โดยทรงหยิบเอาอักษรตัวท้ายของพระนามแต่ละคำที่ผสมกันอยู่ออกมาเป็นคำย่อ (รัชนีแจ่มจรัส) ผงงานนิพนธ์ของพระองค์ท่าน เช่น เรื่องของนักเรียนเมืองอังกฤษ สงครามรัสเซียกับญี่ปุ่น สืบราชสมบัติ พระนลคำฉันท์ ตลาดเงินตรา นิทานเวตาล กนกนคร กาพย์ เห่เรือ ฉันท์สดุดีสังเวยสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ความนึกในฤดูหนาว และสามกรุง ฯลฯ ทรงออกหนังสือรายสัปดาห์ "ประมวญมารค" และทรงตั้งโรงพิมพ์ประมวญมารคขึ้นที่วัง ถนนประมวญ ต่อมาโรงพิมพ์ถึงการอวสานด้วยภัยสงครามถูกทิ้งระเบิด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2486 พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงกระทำพิธีอาวาหะกับคุณพัฒน์ (บุนนาค) บุตรีเจ้าพระยาภาศกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. 2444 ทรงมีพระโอรสธิดา คือ 1. หม่อมเจ้า (ชาย) จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี 2. หม่อมเจ้า (ชาย) รัชนีพัฒน์ รัชนี 3. นางศะศิธร บุนนาค 4. หม่อมเจ้า (ชาย) จันทร์พัฒน์ รัชนี พ.ศ. 2462 ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ (วรวรรณ) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงมีพระธิดา และโอรส คือ 1. หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต 2. หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงสิ้นพระชนฆ์ ด้วยความสงบ ประดุจบรรทมหลับ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 เวลา 15.30 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน |
Cooperative Promotion Group
Cooperative Promotion Group 1